ผักผลไม้แช่ในห้องเย็นได้ไหม

สินค้าประเภทผักและผลไม้ สามารถเก็บไว้ในห้องเย็นได้หรือไม่

    ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องพืชพันธุ์การเกษตร จำหน่ายผักและผลไม้ในประเทศไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเพราะธุรกิจด้านการเกษตรเป็นอาชีพพื้นฐานของไทย จึงทำให้ในปัจจุบันมีคนรุ่นใหม่สนใจที่จะเข้าสู่ธุรกิจการจัดจำหน่ายผลผลิตผักและผลไม้ทั้งเพื่อการจำหน่ายในประเทศและเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา ซึ่งห้องเย็นหรือ Cold Room ถือเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจผักและผลไม้ให้ความสนใจ เพราะต้องการใช้ในการเก็บรักษาสภาพสินค้า แต่ทว่าหลายคนก็ไม่แน่ใจว่า สินค้าประเภทผักและผลไม้จริง ๆ แล้วสามารถที่จะเก็บไว้ใน Cold Room ได้หรือไม่ เหมาะสมหรือเปล่า ลองมาหาคำตอบในเรื่องนี้กัน

เก็บสินค้าผักผลไม้ในห้องแช่เย็นทำได้หรือไม่

    สำหรับสินค้าประเภทผักผลไม้สามารถนำมาแช่ในห้องเย็นได้ เพราะผักผลไม้หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว กระบวนการหายใจของผักผลไม้ก็ยังคงดำเนินไปอยู่ตลอดเวลา ซึ่งขณะที่พืชผักผลไม้อยู่ในกระบวนการหายใจหลังเก็บเกี่ยวนั้น จะทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี มีจุลินทรีย์หลายชนิดเกิดขึ้นระหว่างนั้นได้ หากจุลินทรีย์ในผักและผลไม้เติบโตมากขึ้นก็จะยิ่งเร่งให้ผักผลไม้เน่าเสียเร็วขึ้น นอกจากนั้นแล้วในผักผลไม้จะมีน้ำอยู่ ยิ่งสภาพอากาศร้อนยิ่งกระบวนการหายใจของพืชก็จะทำงานมากขึ้น ทำให้ผักผลไม้เกิดการคายน้ำเร็วมากขึ้น กระบวนการหายใจของผักผลไม้ เมื่อผักผลไม้คายน้ำและความชื้นในตัวเองออกมาก็จะทำให้เกิดการเหี่ยวเฉา และดูไม่สดใหม่ มีสีคล้ำลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ดังนั้นการนำผักผลไม้มาแช่เย็นเก็บไว้ใน Cold Room ก็เพื่อลดการเติบโตของจุลินทรีย์และชะลอการคายน้ำของผักผลไม้ ซึ่ง Cold Room ที่เหมาะสมกับการแช่เก็บสินค้าที่เป็นผักผลไม้ก็คือ ห้องประเภท Chill Room

   สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาสภาพสินค้าที่เป็นผักผลไม้แต่ละชนิดก็แตกต่างกันไป โดยถ้าจะแบ่งกว้าง ๆ ก็จะได้ดังนี้

  • ผัก อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับแช่เก็บผักใน Cold Room จะอยู่ที่ 0-7 องศาเซลเซียส เช่น กะหล่ำ มันฝรั่ง พริก กระเทียม หัวหอม รวมถึงข้าว เป็นต้น
  • ผลไม้ อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับแช่เก็บผลไม้ใน Cold Room จะอยู่ที่ 0-13 องศาเซลเซียส เช่น แอปเปิล กล้วย มะม่วง ส้ม สาลี่ เป็นต้น

Cold Room กับสินค้าที่จะแช่เก็บต้องเลือกให้เหมาะสมกัน

    หลายคนอาจจะได้รับคำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้มีประสบการณ์ในการใช้ห้องเย็นมาก่อนว่า หากจะเลือกใช้จะต้องทำการศึกษาการใช้และเลือกประเภทสินค้าที่จะจัดเก็บให้ดี เพราะถ้าทั้งสองสิ่งไม่สัมพันธ์กัน สินค้าที่นำมาแช่ไว้อาจจะเสียหายทั้งหมดได้ บางคนไม่รู้ก็อาจจะเข้าใจไปว่าเป็นเพราะตนเองเลือกใช้เป็นห้องเย็นราคาไม่แพงอย่างห้องมือสองหรือเปล่า เลยทำให้การแช่เก็บสินค้ามีปัญหา จริง ๆ แล้วปัญหาไม่ได้อยู่ที่คุณภาพของห้องเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ประเภทหรือชนิดสินค้าที่นำมาแช่เก็บด้วย หากว่าไม่ศึกษาธรรมชาติพื้นฐานของสินค้าให้ดีก่อนว่า สินค้าชนิดนั้น ๆ ควรต้องเก็บในอุณหภูมิเท่าไหร่ ต้องใช้ห้องที่ช่วยรักษาความชื้นให้สินค้าด้วยหรือไม่ ผลลัพธ์ที่ตามมาอาจจะเป็นตรงกันข้าม ได้แทนที่ Cold Room จะช่วยถนอมสินค้าแต่กลับกลายเป็นว่ากลับเป็นส่วนหนึ่งที่ให้สินค้าเสียหายได้เร็วขึ้น ตรงนี้จึงต้องศึกษาทำความเข้าใจทั้งสองส่วนให้ดี และเลือกใช้ให้สอดคล้องกัน

     กรณีสินค้าเป็นผักและผลไม้เองก็เช่นกัน ผู้ประกอบการก็ควรรู้ว่าผักและผลไม้แต่ละชนิดก็มีธรรมชาติพื้นฐานที่แตกต่างกันไป บางชนิดอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมาก หากเปลี่ยนจากร้อนไปเย็นทันที คือ ผักอาจจะเพิ่งถูกเก็บจากแปลงในขณะอากาศร้อน และผ่านการขนส่งมาบนรถที่มีอุณหภูมิสูง หากนำมาเข้าห้องแช่เย็นที่มีอุณหภูมิติดลบในทันที ผักหรือผลไม้ไม้บางชนิดก็อาจปรับสภาพไม่ทันและทำให้เน่าเสียได้เหมือนกัน เนื่องจากผักจะสูญเสียความชื้นออกไปได้อย่างฉับพลัน

    ดังนั้นการจะแช่ผักหรือผลไม้ในห้องเย็น ก็ควรจะศึกษาธรรมชาติของผักผลไม้แต่ละชนิดให้ดีก่อน ว่าแบบไหนเหมาะสมกับการแช่แบบไหน แช่ในระดับความเย็นเท่าไหร่ และต้องการรักษาระดับความชื้นด้วยหรือไม่ หากผักหรือผลไม้ชนิดนั้น ๆ ต้องรักษาความชื้นด้วยก็จำเป็นจะต้องเลือกห้องแช่ที่มีระบบรักษาความชื้นให้สินค้าด้วย แบบนี้ก็จะช่วยลดความเสียหายให้กับสินค้าได้นั่นเอง

    เชื่อว่าทุกคนคงได้คำตอบกันแล้วว่าผักผลไม้สามารถแช่เก็บไว้ในห้องเย็นได้หรือไม่ จะเห็นได้ว่า Cold Room นับเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยในการรักษาสภาพสินค้าให้สดใหม่และอยู่ได้นาน แต่อย่างไรก็ดีก็ต้องดูธรรมชาติของสินค้าแต่ละชนิดให้สอดคล้องกับประสิทธิภาพของ Cold Room นั้น ๆ ด้วย ทั้งสองส่วนต้องสอดคล้องกัน การเก็บรักษาสภาพสินค้าจึงจะให้ผลลัพธ์ที่ดีตามต้องการ